ติดตั้ง WordPress บน Amazon Lightsail

ในการทำเว็บไซต์นั้น หากแบ่งคร่าวๆ เราต้องมีส่วนโปรแกรม (Application) และส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่ไว้รันโปรแกรม (Hosting Server)

Application

ทางทีมงานเราจะใช้ WordPress เป็นหลัก หากต้องการสร้างร้านออนไลน์ก็ลง WooCommerce และปลั๊กอินอื่นๆ เพิ่มนะครับ

Hosting Server

คล้ายๆ กับพื้นที่ในการสร้างร้านค้า หากร้านเราเพิ่งเริ่ม ก็อาจจะใช้ขนาดเล็กไปก่อน พอร้านมีสินค้าเยอะขึ้น คนเข้ามากขึ้น ก็ค่อยขยายขนาด หรือสร้างสาขาอื่นๆ เพื่อแบ่งคนออกไป

หากเว็บมีขนาดเล็ก ผมจะแนะนำ Ruk-Com / CloudRambo / Atom / SiteGround ซึ่งเริ่มต้นประมาณปีละ 1-2 พันบาท ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน (Shared Server) โดยเซิร์ฟเวอร์ 1 ตัว อาจมีเว็บอยู่ 10-100 เว็บ

แต่พอเราจะสร้างร้านค้า มีระบบสมาชิก เราก็ควรเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้แค่เราคนเดียว เว็บของเราเท่านั้น (เวลาเว็บอื่นมีปัญหาจะได้ไม่มากระทบเรา) โดยมีตัวเลือกที่นิยมกันคือ VPS (Visual Private Server) ที่เราเลือกขนาดได้หลากหลาย สั่งเพิ่มพื้นที่ / CPU / RAM ได้ง่าย สะดวกกว่าไปหาเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ไปวางที่ศูนย์ข้อมูล (เรียกว่า Dedicated Server ที่ต้องไปติดตั้งที่ Data Center)

VPS ที่นิยมใช้ ถ้าของไทยก็เช่น Nipa Cloud / Bangmod Cloud / CloudRambo ส่วนของนอกมักจะเป็น Digital Ocean เพราะราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย

ส่วน Amazon เอง ที่ผ่านมาก็มี VPS ให้เช่นกัน (เช่น EC2) แต่ติดตั้งยาก ต้องตั้งค่าเยอะ เหมาะกับเว็บขนาดใหญ่ จนกระทั่ง Amazon ออกตัว Amazon Lightsail ที่ใช้ง่าย ราคาพอๆ กับ Digital Ocean ในขณะที่แบรนด์แข็งแกร่งกว่า หลายคนทดสอบพบว่าเร็วและเสถียรกว่า คนเลยเริ่มมาสนใจตรงนี้มากขึ้น

Amazon Lightsail

เข้าที่เว็บ https://aws.amazon.com/lightsail/ แล้วสมัคร ก็สามารถเริ่มใช้ได้ฟรี พอสร้างบัญชีเสร็จ จะเข้าที่หน้านี้นะครับ

ก็คลิกที่ Create Instance เพื่อสร้างเซิร์ฟเวอร์ของเราได้เลย

ตามรูป บนสุดเลือกสถานที่วางเซิร์ฟเวอร์ ขอให้เลือกสิงคโปร์ (Singapore) ส่วนตัวเซิร์ฟเวอร์ เลือก Linux/Unix และเลือกแอป WordPress นะครับ

เสร็จแล้ว เลือกแพลน ซึ่งจะมีราคาต่อเดือน และขนาดพื้นที่ / CPU / RAM ตามที่ระบุในตาราง ส่วนตัวผมคิดว่าเริ่มต้นที่ $5 ก็ทำเว็บร้านออนไลน์ได้ละ พอคนเริ่มเยอะ ค่อยมาขยายขนาดอีกครั้ง (แต่ถ้าใครอยากลองของฟรี ก็ใช้ $3.5 ก็พอได้อยู่ครับ)

แล้วก็ตั้งชื่อเครื่อง เป็นภาษาอังกฤษ เสร็จแล้วกดปุ่ม Create instance ระบบจะสร้างให้ รอซักพักจะแสดงข้อมูลตามรูป

ตั้งค่าเน็ตเวิร์ค (IP Address)

พอได้เซิร์ฟเวอร์มาแล้ว ระบบจะตั้งค่า IP address ชั่วคราวมาให้ ( Internet Protocol address – เปรียบเสมือนที่อยู่/ที่ตั้งในอินเทอร์เน็ต) หากต้องการใช้จริง ต้องไปสร้าง IP ใหม่ต่างหาก (เพราะระบบเน็ตเวิร์กของ Amazon อนุญาตให้เราชี้ IP ไปที่เครื่องไหนก็ได้ เลยต้องสร้าแยกกัน) ให้ไปที่เมนู Networking

เลือก Create Static IP

เลือกเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แล้วตั้งชื่อให้ IP นี้ แนะนำว่าตั้งตามชื่อเครื่องแล้วต่อด้วย -ip ก็สะดวกดีครับ

พอกดปุ่ม Create ระบบก็จะแสดงตามรูป ว่าเราได้ Server มาแล้ว สามารถเข้าถึงได้ผ่าน http (Port: 80) และ https (Port: 443) เลย – แต่ระบบยังไม่มีใบรับรองเรื่องความปลอดภัยนแะครับ แค่สามารถเข้าถึงได้เฉยๆ

ในเวิร์คช็อป จะจบแค่ใช้ IP ในการติดตั้งและลงข้อมูลต่างๆ นะครับ กับจะสาธิตเพิ่มเรื่องการตั้งค่าโดเมน ซึ่งจะแนะนำให้ใช้ Cloudflare (ฟรี) ตั้งค่า

USER & PASSWORD

เข้าไปที่ Instance คลิกที่ปุ่ม Connect using SSH

ระบบจะเปิดหน้าต่างใหม่ ตามรูป

ให้พิมพ์คำสั่ง

cat bitnami_application_password

จะได้รหัสผ่านตามรูป

ให้ copy ไว้ หลังจากนั้นไปที่ url [IP ของเรา]/wp-admin/ แล้วล็อกอินโดยพิมพ์ข้อความดังนี้

user: user
pass: [โค้ดที่ได้จากหน้าจอ]

จดโดเมน

หากต้องการมีโดเมนเป็นของตัวเอง ให้ไปหาโดเมนว่างและทำเรื่องจดนะครับ ราคา .com ก็ปีละประมาณ 340 – 400 บาท

เว็บฝรั่ง แนะนำ name.com / namecheap.com / godaddy.com

เว็บไทย แนะนำ dotarai.com หรือจดกับโฮสติ้งที่แนะนำไปด้านบนก็ได้เช่นกันครับ

สมัคร Cloudflare

แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ครับ วิธีใช้ cloudflare.com

ทำให้ Server ส่งเมลได้

ระบบ Server เหล่านี้ไม่ได้มาพร้อมการส่งเมล หากเราจะลงระบบสำเร็จรูปก็ทำได้ แต่มักจะเจอปัญหาว่า ส่งเมลแล้วติดสแปม (เหมือนที่ใช้ hosting ทั่วไปแล้วจะเจอปัญหานี้)

ดังนั้น เวลาใช้งานจริง ผมจะใช้ Mailgun หรือ Amazon SES เป็นหลัก ส่วนใครที่ส่งไม่เยอะ (วันนึงไม่เกิน 100 ฉบับ) แนะนำให้ส่งผ่าน Gmail / G Suite ได้เลย วิธีการตามบทความนี้ครับ ส่งเมลจาก WordPress ผ่าน Google ด้วย Postman SMTP

เอาโลโก้ Bitnami ออก

1. พิมพ์ sudo /opt/bitnami/apps/wordpress/bnconfig --disable_banner 1
2. พิมพ์ sudo /opt/bitnami/ctlscript.sh restart apache

การส่งเมลด้วย Gmail

  • เลือก SMTP
  • SMTP Host: smtp.gmail.com
  • SMTP Port: 587
  • Encryption: Use TLS encryption.
  • Authentication: Yes. Use SMTP authentication.

หรือทำตามบล็อก https://www.wpthaiuser.com/postman-smtp/


สำหรับระบบเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานจริงทุกวัน

ส่วนตัวแล้ว หากลงเวิร์ดเพรสผ่านระบบอัตโนมัติ ทั้งของ Digital Ocean และของ Amazon Lightsail ระบบปฏิบัติการทั้ง Stack จะไม่ได้มีการอัปเดต (อ้างอิง กระทู้นี้) ทำให้เราดูแลระบบยาก นอกจากนั้นจะมีประเด็นเรื่องการ Backup รายวัน / ระบบสร้าง SSL / ระบบอัปเดตรายวัน ฯลฯ

ทำให้ระบบที่ผมทำให้ลูกค้าอยู่ จะมี 2 แบบครับ (ขออนุญาตใส่ลิงก์แนะนำนะครับ หากสมัครผ่านลิงก์ ผมจะได้ค่านายหน้าด้วยครับ)

1. ใช้ Cloudways ในการติดตั้ง

Cloudways เป็นระบบที่ครอบ VPS อีกที พอเราใช้งาน เราจะเลือก Server เป็น AWS หรือ Digital Ocean ก็ได้ ข้อดีคือเริ่มง่าย ไม่แพง มี support สามารถคุยได้ 24 ชั่วโมง แต่พอ Server ใหญ่มากๆ หรือมีเยอะมากๆ ราคามันก้าวกระโดดไปหน่อย

หากสนใจลอง Cloudways คลิกสมัครที่นี่

2. ใช้ SpinupWP ในการติดตั้ง

SpinupWP เป็นระบบที่ไว้ Format และติดตั้ง Server มีระบบอัปเดตรายวัน มีระบบสำรองข้อมูลที่เราตั้งค่าได้ต่างหาก เท่าที่ใช้มาตั้งแต่เปิดตัวปีที่แล้ว พบว่าระบบเบามาก และโหลดเร็วมาก แต่ไม่มี Chat Support เหมือน Cloudways

หลังจากจ่าย Cloudways ติดต่อกันเดือนละ 5 หมื่นหลายๆ เดือน ผมเลยตัดสินใจทะยอยย้ายมา SpinupWP พบว่าสเถียรมาก และสามารถใช้ร่วมกับ Amazon Lightsail ก็ได้ด้วยครับ

หากสนใจ SpinupWP คลิกสมัครและรับส่วนลด $50 ที่นี่

สรุป

Amazon Lightsail เป็นระบบที่ติดตั้งง่าย เริ่มต้นได้ง่าย อยากให้ลองเล่นดูครับ ตอนนี้สามารถทดลองใช้ฟรีได้ด้วย ส่วนหากมีคนเข้าเว็บจริงซักวันละหลายพัน ผมจะแนะนำให้หาตัวช่วยเพิ่ม เช่น Cloudways หรือ SpinupWP ครับ ซึ่งจะเลือก AWS หรือ Digital Ocean ก็ได้ทั้งสิ้น

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments