จากโลกเก่าสู่สื่อใหม่ – สร้างสำนักข่าวออนไลน์ด้วยเวิร์ดเพรส

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ทีมงาน SeedThemes คือคุณจ๋ง – วรงค์ หลูไพบูลย์ – ได้ไปพูดในงาน WordCamp Bangkok 2018 นะครับ หัวข้อที่พูดคือ จากโลกเก่าสู่สื่อใหม่ – สร้างสำนักข่าวออนไลน์ด้วยเวิร์ดเพรส ซึ่งเป็นการแบ่งปันประสบการณ์การใช้ ชุดทำเว็บ Seed Kit ไปทำเว็บให้ลูกค้าที่เป็นทั้งสื่อเก่า สื่อใหม่นะครับ

From Old World to New Media with WordPress – by Warong @ VaivaiSoft.com

 

เริ่มต้นด้วยผลงานของ VaivaiSoft และ SeedThemes ซึ่งเราก็ทำงานเว็บข่าวมาหลายเจ้า เช่น

 

หรือในแง่เว็บที่เป็นองค์ความรู้ / เอกสาร ก็เช่น

 

ซึ่งเราพบว่า แนวโน้มที่เกิดขึ้นนั้น เปลี่ยนแปลงจากโลกของสื่อแบบเก่า มาเป็นแนวคิดแบบใหม่

  • เนื้อหาถูกย้าย จากหนังสือ มาสู่หน้าจอ
  • องค์กรสื่อที่เคยมีขนาดใหญ่ ต้องปรับตัวให้เล็กลง และรวดเร็วขึ้น
  • สื่อที่เคยมีเนื้อหาหลากหลาย เริ่มอยู่ยาก กลายเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเฉพาะทาง
  • การอ่านจากกระดาษ เปลี่ยนเป็นการอ่านออนไลน์
  • ตัวชี้วัดที่เคยดูจากยอดพิมพ์ / ยอดขาย ก็กลายเป็นดูจากยอดผู้เข้าชม, จำนวนคลิกหรือปฏิสัมพันธ์
  • การประชาสัมพันธ์ที่เคยเป็นสื่อทางเดียว ก็เปลี่ยนเป็นการตลาดออนไลน์ที่เป็นสื่อสองทาง ผู้อ่านโต้ตอบได้
  • และบรรณาธิการ ก็ผันตัวมาเป็น Influencer หรือผู้นำทางความคิดแทน

 

ซึ่งการปรับตัวแรกๆ ของสื่อ ก็คือต้องทำทุกอย่างให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitize) ถ้ามีสื่อเก่าก็ต้องแปลง หรือถ้าจะสร้างสื่อใหม่ ก็ควรสร้างให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่แรกไปเลย

 

ในส่วนของการปรับขึ้นออนไลน์นั้น ก็มีการแข่งขันกันหลายแบบ

  • ในยุคแรกที่เว็บยังน้อย ก็ต้องตั้งชื่อเว็บให้จำง่าย เช่น Yahoo, Sanook, Kapook
  • แต่เมื่อมี Google การจำชื่อและสะกดชื่อเว็บ ก็เริ่มสำคัญน้อยลง เปลี่ยนเป็นต้องทำให้ติดอันดับการค้นหามากกว่า
  • และเมื่อมี Facebook ซึ่งคนไม่ได้เข้าถึงด้วยการค้นหา แต่เป็นการที่มีคนบอกต่อ การสร้างเนื้อหาให้มียอดไลค์ ยอดแชร์ จึงสำคัญกว่า

 

ส่วนการสร้างสื่อ หรือเว็บไซต์เอง ระบบที่เราแนะนำคือเวิร์ดเพรส เพราะเริ่มต้น แนวคิด/คำศัพท์ต่างๆ ก็มาจากสื่อดั้งเดิม เช่น

  • Draft = ฉบับร่าง
  • Publish = ตีพิมพ์ หรือ เผยแพร่
  • Trash = ถังขยะ
  • Media = ไฟล์สื่อ
  • Category = หมวดหมู่
  • Tag = ป้ายกำกับ

 

ขอยกตัวอย่างกรณีศึกษา จากทีมทำสื่อเก่า ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นสื่อออนไลน์ด้วยเวิร์ดเพรส

  • ทีมงาน มาจากสื่อเก่า ไม่คุ้นเคยกับโลกออนไลน์
  • มาเริ่มเปิดเว็บ Thaipublica โดยไม่มีสื่อกระดาษเลย
  • สามารถเรียนรู้และใช้งานเวิร์ดเพรสได้ในเวลาไม่นาน

 

ส่วนการนำเวิร์ดเพรสมาใช้นั้น เราก็เจอปัญหาหลายแบบ ขอแบ่งปันแนวทางการแก้ไขที่เราใช้

 

ปัญหาเว็บไซต์โหลดช้า – แนะนำให้ใช้ปลั๊กอินแคช ทั้งสองตัวนี้ใช้งานและเห็นผลทันที แต่เนื่องจากทีมเราใช้โฮสต์ Cloudways โดยเลือกตำแหน่งสิงคโปร์ ทำให้เราใช้ Breeze เป็นหลัก เนื่องจาก Breeze จะไปเชื่อมกับ Hardware ของ Server ด้วย ระบบจึงทำงานได้เร็วมาก และรองรับคนเป็นล้านต่อเดือนได้สบายๆ

ออกตัว: ลิงก์ไปเว็บไซต์ Cloudways เป็น Affiliates Link คือ ถ้ามีการคลิกและสมัคร ทีมงานเราจะได้ค่า Commission นะครับ แต่ว่า ที่เราแนะนำ Cloudways เพราะเราใช้มานานและเห็นว่ามันดีจริงๆ ครับ

 

ปัญหาด้านความปลอดภัย – เราลองทั้ง Wordfence และปลั๊กอินอื่นๆ อีกหลายตัว พบว่าส่วนใหญ่ที่ฟีเจอร์ดี จะหนักเครื่องมาก จนมาจบที่ iThemes Security ซึ่งใช้ตัวฟรีก็ช่วยได้พอสมควร แต่พอใช้ตัวเสียตังค์ก็จะมีฟีเจอร์อื่นๆ เพิ่มอีกเยอะมาก ซึ่งทำให้เราไม่เคยเจอการโดนแฮคเลย

 

ในแง่สถิติและรายงานสรุป ซึ่งเป็นหัวใจใหญ่ของสื่อ ในแง่นี้เราเคยใช้ปลั๊กอินเก็บสถิติใน server เราเองหลายตัว พบว่าสุดท้ายจะทำให้เว็บล่ม ดังนั้น ทางออกคือต้องไปเก็บข้อมูลสถิติที่ระบบอื่นแทน เช่น Google Analytics แล้วใช้ปลั๊กอินเพื่อส่งค่าให้เก็บถูกต้อง (เช่น สร้างแคมเปญ, เช็คยอดสำหรับหน้าบางหน้า)

หากใช้ตัวฟรีก็มีหลายตัว แต่ตัวเสียตังค์ เราชอบ Analytify Pro เพราะทำให้คนในทีมเข้าที่เว็บแล้วเห็นภาพได้ทันที ไม่ต้องไปเช็คที่เว็บของ Google อีกต่อ

 

ส่วนการแสดงยอดคนอ่านในหน้าเว็บไซต์ ถ้าเราเก็บสถิติเอง ก็จะทำให้เว็บล่มได้ (โดยเฉพาะเว็บที่คนเข้าเดือนละล้านในรูปด้านบน) เราเลยหาทางอื่น จนสุดท้ายก็ไปดึงข้อมูลจาก Google Analaytics มาเก็บไว้ใน Custom Field ของแต่ละเรื่องดีที่สุด แล้วเราก็สามารถเขียนโค้ดเพิ่มได้ว่า จะให้ดึงเฉพาะเรื่องที่ยอดชมสูงสุด ในช่วงเวลาไหนมาแสดง / ซึ่งปลั๊กอินที่เราใช้ ชื่อว่า Google Analytics Post Pageviews ครับ

 

ส่วนการจัดพาดหัวข่าว เลือกประเด็นที่น่าสนใจขึ้นหน้าแรก เราเคยใช้ระบบ Slider อื่นๆ แล้วพบว่าปรับแต่งยาก, ใช้ Page Builder ก็เพิ่มงานบ.ก. มากเกินไป ทำให้สุดท้ายเราคิดว่า สร้างเป็น custom fields ไว้ในหน้าแรก (Page – Home) ไปเลยดีกว่า ซึ่งปลั๊กอินที่ทำได้ดีมากคือ Advance Custom Fields Pro ที่สามารถให้เราเพิ่มลดบทความต่างๆ ได้อิสระ ลากขึ้นลงเพื่อสลับลำดับได้ง่าย สามารถเขียนเงื่อนไขได้ว่า ต้องมีอย่างต่ำกี่บทความ หรือมากสุดกี่บทความ ฯลฯ

 

ส่วนการทำให้บทความติดอันดับ และแชร์ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องอาศัยปลั๊กอินช่วยเรื่อง SEO ซึ่งทีมเราชอบทั้ง All in One SEO และ Yoast SEO แต่ Yoast จะช่วยให้คำแนะนำเยอะกว่านิดหน่อย (แลกกับรกกว่านิดหน่อย)

ส่วนการแชร์ หากตั้งค่ารูป/เนื้อหาถูกต้องแล้ว (เรียกว่า Open Graph) ปุ่มแชร์ที่ใช้ทั้ง Facebook / Twitter / Line ได้ เราเคยใช้ของเมืองนอกแล้วโหลดเว็บมาก เลยต้องหาทางเขียนเอง และทำแจกฟรีในชื่อ Seed Social

 

ส่วนประเด็นในการสร้างเว็บให้รองรับได้ทุกหน้าจอ (Responsive) มีเมนูสำหรับมือถือและจอคอมที่ต่างกัน ปรับได้อิสระ รวมถึงมีโค้ดต่างๆ ในธีมที่ได้มาตรฐาน ติด Google ง่าย โหลดเร็ว ไม่มีปัญหากับปลั๊กอินอื่นๆ – แรกๆ เราซื้อธีมจาก Themeforest มาใช้ เปลี่ยนไปมาราวๆ 20 ธีม แล้วก็พบกว่าแต่ละธีมนั้นอ้วนและรกเกินไป โหลดช้ามาก เราเลยต้องพัฒนาเองในที่สุด และพอแจกฟรีในช่วงแรกๆ (เช่น Blogberry, ธีมเรียบเรียบ) กลายเป็นมีคนสอบถามปัญหามาเยอะมาก เราไม่สามารถดูแลได้หมด

สุดท้ายเราเลยพัฒนาเป็นคอร์สออนไลน์ และนำธีมมาทำตัวอย่างแบบต่างๆ แล้ววางขายแทน ในชื่อ ชุดคิททำเว็บ – Seed Kit และใช้ธีมของเราทำเว็บให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง

งานทำเว็บไซต์ที่เราคิดลูกค้าหลักแสน หลักล้าน เลยสามารถถอดเอามาให้คนอื่นไปใช้ต่อยอดได้ ในราคา 2-3 พันบาท

 

นอกจากปัญหาด้านเทคนิค อีกทางหนึ่งคือด้านคน/การทำงาน เราเจออะไร และแก้อย่างไร?

 

เรื่องแรกคือปัญหาการเตรียมข้อมูล เพราะคนจากสื่อเก่ามักจะไม่คุ้น ก็ต้องให้คำแนะนำ เช่น

  • รูปภาพ ไม่ควรใหญ่มากนัก (เรามองว่ากว้างสูงสุด 1,600px ก็มากพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอารูปใหญ่ๆ เหมือนสื่อสิ่งพิมพ์) และถ้านำไฟล์มาจาก AI ต้องสั่ง Anti Alias เสมอ
  • ไฟล์ที่ใช้ ต้องเป็น RGB ไม่ใช่ CMYK เหมือนในสิ่งพิมพ์
  • ไฟล์ต่างๆ ที่เตรียม ควรตั้งชื่อ ใส่ alt tag ต่างๆ ให้เหมาะสม ทั้งดีต่อ SEO และต่อการค้นหาในอนาคต
  • จัดการสื่อให้เป็นระเบียบ สิ่งพิมพ์ที่เมื่อจบงานแล้ว เราก็แทบไม่แตะไฟล์หรือเพลตอีกแล้ว แต่งานดิจิทัล เราจะเอาไฟล์เดิม โพสต์เดิม กลับมาเล่าใหม่ ลิงก์ใหม่ได้เรื่อยๆ

 

ต่อมาคือการสร้างเนื้อหาดิจิทัล ซึ่งต้องคำนึงหลายด้าน

  • การจัดวางรูป/ข้อความ ต่างๆ จะไม่เหมือนสิ่งพิมพ์ที่มีขนาดและเลย์เอาท์ตายตัว เนื้อหาดิจิทัลสามารถดูผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลายมาก กระทบกับทั้งเลย์เอาท์และลำดับการแสดงผล
  • ไม่ควรใส่โค้ดเข้าไป ซึ่งหลายครั้งมาจากการไปก๊อบผ่าน Word, Excel แล้วติดค่าสี, ค่าขนาดฟอนต์ต่างๆ มาด้วย มันทำให้โค้ดถูกฝังในบทความ และจะแสดงผลไม่สอดคล้องกับส่วนอื่นๆ
  • บทความต่างๆ ควรคำนึงถึงผู้อ่านที่เข้ามาอ่านผ่านคำค้นต่างๆ บางครั้งต้องปรับคำ หรือเพิ่มประเด็นที่น่าสนใจ หรือคำที่คนจะค้นหามาเจอบทความนี้
  • ใช้ย่อหน้าและรูปประกอบให้เยอะ เพื่อให้อ่านง่าย

 

แนวโน้มของสื่อดิจิทัลยุคต่อไป

  1. Facebook เปลี่ยนแปลงตลอด และอาจกระทบกับเพจของเราได้
  2. การมีเว็บของเราเอง เราย่อมควบคุมและพัฒนาได้ดีกว่า
  3. ซึ่งเมื่อจะทำเว็บเอง การใช้เวิร์ดเพรส เป็นคำตอบที่ดีที่สุด ทั้งใช้ง่าย และความสามารถสูง

เพิ่มเติม: สนใจสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรส?

ผมเอง (เม่น) เคยบรรยายไว้ดังนี้

  1. ฟรี – เรียนรู้เอง สอบถามปัญหาใน กลุ่ม WordPress Bangkok หรือ เว็บบอร์ดซี้ด ธีมส์
  2. งบหลักพัน – ลงเรียนออนไลน์และทดลองใช้ ชุดคิททำเว็บ Seed Kit
  3. งบหลักหมื่น – จ้างฟรีแลนซ์ทำให้
  4. งบหลักแสน – จ้างบริษัททำเว็บทำให้ เช่น VaivaiSoft.com
  5. งบหลักล้าน – จ้างดิจิตอล เอเจนซีทำให้ เช่น SamYarn, HLP

รายละเอียดที่ “ทำเว็บ กี่บาท?”

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments